ترجمة سورة الرحمن

King Fahad Quran Complex - Thai translation

ترجمة معاني سورة الرحمن باللغة التايلاندية من كتاب King Fahad Quran Complex - Thai translation.

สูเราะฮฺ อัร-เราะห์มาน


พระผู้ทรงกรุณาปรานี

พระองค์ทรงสอนอัลกุรอาน

พระองค์ทรงสร้างมนุษย์

พระองค์ทรงสอนเขาให้เปล่งเสียงพูด

ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรตามวิถีที่แน่นอน

และผักหญ้า และต้นไม้จะกราบสุญูด

และชั้นฟ้านั้นพระองค์ทรงยกมันไว้สูง และทรงวางความสมดุลไว้

เพื่อพวกเจ้าจะได้ไม่ฝ่าฝืนในเรื่องการชั่งตวงวัด

และจงธำรงไว้ซึ่งการชั่งด้วยความเที่ยงธรรม และอย่าให้ขาดหรือหย่อนตาชั่ง

และแผ่นดินนั้น พระองค์ทรงจัดเตรียมมันไว้ เพื่อสรรพสิ่งที่สร้างขึ้น

ในแผ่นดินนั้นมีผลไม้ และต้นอินทผลัมที่มีผลซ้อนกันหลายชั้น

และเมล็ดที่มีเปลือกและรำ และมีกลิ่นหอม

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าของพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

พระองค์ทรงสร้างมนุษย์จากดินเหนียวมีเสียงเช่นเครื่องปั้นดินเผา

และพระองค์ทรงสร้างญินจากเปลงไฟ

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

พระเจ้าแห่งทิศตะวันออกทั้งสองและพระเจ้าแห่งทิศตะวันตกทั้งสอง

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

พระองค์ทรงทำให้น่านน้ำทั้งสอง (ทะเลและแม่น้ำ) ไหลมาบรรจบกัน

ระหว่างมันทั้งสองมีที่กั้นกีดขวาง มันจะไม่ล้ำเขตต่อกัน

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

มีไข่มุกและหินปะการังออกมาจากมันทั้งสอง

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

และเป็นของพระองค์คือ เรือขนาดใหญ่ลอยเด่นอยู่ในทะเลคล้ายกับภูเขา (บนบก)

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมแตกดับ

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะยังคงเหลืออยู่

ดังนั้น ด้วยบุญอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินจะขอพระองค์ทุก ๆ ขณะ พระองค์ทรงมีภาระกิจ

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

อีกไม่ช้าเราจะจักการกับพวกเจ้า (ในกิจการต่าง ๆ) โอ้มนุษย์และญินเอ๋ย!

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

โอ้ชุมนุมแห่งญินและมนุษย์ทั้งหลาย เอ๋ย! หากพวกเจ้ามีความสามารถที่จะผ่านไปให้พ้นขอบฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ได้ ก็จงผ่านไปให้พ้นเถิด แต่ว่าพวกเจ้าไม่สามารถที่จะผ่านไปให้พ้นได้เว้นแต่ด้วยพลัง (พระบัญชาและพระประสงค์ของอัลลอฮ.)

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

เปลวไฟ และทองเหลือง จะถูกส่งมายังเจ้าทั้งสองแล้วเจ้าทั้งสองก็ไม่อาจจะป้องกันตนเองได้

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ครั้นเมื่อชั้นฟ้าแตกกระจายออก มันจะกลายเป็นสีแดงคล้ายขี้ผึ้ง

ดังนั้น ด้วยบุญอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

แล้วในวันนั้น มนุษย์และญินจะไม่ถูกถามถึงความผิดของเขา

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่า แห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

บรรดาผู้ที่มีความผิดจะเป็นที่รู้จักกันได้ที่เครื่องหมายของพวกเขา แล้วจะถูกจับตรงผมที่ปีกหน้าผาก คือขมับและเท้า (แล้วลากลงนรก)

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

นี่คือนรก ซึ่งบรรดาผู้ที่มีความผิดปฏิเสธไม่ยอมเชื่อ

พวกเขาจะเดินวกเวียนอยู่รอบ ๆ ระหว่างมันกับน้ำร้อนที่เดือด

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

และสำหรับผู้ที่ยำเกรง ต่อการยืนหน้าพระพักตร์แห่งพระเจ้าของเขา (เขาจะได้) สวนสวรรค์สองแห่ง

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

(สวนสวรรค์สองแห่งนั้น) แผ่กิ่งก้านเขียวชอุ่ม และผลไม้หลายชนิด

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

ในสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้นมีตาน้ำสองแห่งไหลพรั่งพรู

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ในสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้นมีผลไม้ทุกชนิดเป็นสองประเภท

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

พวกเขานอนเอกเขนกอยู่บนฟูกนอนซึ่งซับในของมันทำด้วยไหมพรมอย่างดี ผลไม้ของสวนทั้งสองแห่งนั้นอยู่ใกล้แค่มือเอื้อม

ดังนั้นด้วยบุญอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ในสวนสวรรค์เหล่านั้นมีหญิงสาวพรหมจารี ผู้ลดสายตาลง (เฉพาะสามีของนางเท่านั้นป ซึ่งไม่มีมนุษย์ และไม่มีญินแตะต้องพวกนางมาก่อนเลย

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

คล้ายกับว่าพวกนางเป็นทับทิม และปะการัง

ดังนั้นบุญคุณอันใดเล่า แห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

จะมีการตอบแทนความดีอันใดเล่านอกจากความดี

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

และอื่นจากสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้นแล้ว ยังมีสวนสวรรค์อีกสองแห่ง

ดังนั้นบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

(สวนสวรรค์) ทั้งสองนั้น เขียวชอุ่ม

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ในสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้น มีตาน้ำสองแห่งที่พวยพุ่งออกมาอย่างไม่ขาดสาย

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ในสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้นมีผลไม้และอินทผลัม และผลทับทิม

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแหงพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

ในสวนสวรรค์เหล่านั้น มีหญิงสาวที่มีมารยาทดีสวย

ดังนั้นด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

หญิงสาวผิวพรรณขาวผ่อง นัยตาคม (ที่เก็บตัวเฉพาะสามีของนางเท่านั้น) อยู่ในกระโจม

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

ซึ่งไม่มีมนุษย์และไม่มีญิน แตะต้องพวกนางมาก่อนเลย

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่า แห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ?

พวกเขาจะนอนเอกเขนกบนหมอนอิงสีเขียว และพรมที่มีลวดลายอย่างสวยงาม

ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสองที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ

พระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปราน ทรงจำเริญยิ่ง
سورة الرحمن
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورة (الرَّحْمن) من السُّوَر المكية، وقد أبانت عن مقصدٍ عظيم؛ وهو إثباتُ عموم الرحمة لله عز وجل، وقد ذكَّر اللهُ عبادَه بنِعَمه وآلائه التي لا تُحصَى عليهم، وفي ذلك دعوةٌ لاتباع الإله الحقِّ المستحِق للعبودية، وقد اشتملت السورةُ الكريمة على آياتِ ترهيب وتخويف من عقاب الله، كما اشتملت على آياتٍ تُطمِع في رحمةِ الله ورضوانه وجِنانه.

ترتيبها المصحفي
55
نوعها
مكية
ألفاظها
352
ترتيب نزولها
97
العد المدني الأول
77
العد المدني الأخير
77
العد البصري
76
العد الكوفي
78
العد الشامي
78

* سورة (الرَّحْمن):

سُمِّيت سورة (الرَّحْمن) بهذا الاسم؛ لافتتاحها باسم (الرَّحْمن)، وهو اسمٌ من أسماءِ الله تعالى.

* ذكَرتْ سورةُ (الرحمن) كثيرًا من فضائلِ الله على عباده:

عن جابرِ بن عبدِ اللهِ رضي الله عنهما، قال: «خرَجَ رسولُ اللهِ ﷺ على أصحابِه، فقرَأَ عليهم سورةَ الرَّحْمنِ، مِن أوَّلِها إلى آخِرِها، فسكَتوا، فقال: «لقد قرَأْتُها على الجِنِّ ليلةَ الجِنِّ فكانوا أحسَنَ مردودًا منكم! كنتُ كلَّما أتَيْتُ على قولِه: {فَبِأَيِّ ءَالَآءِ رَبِّكُمَا تُكَذِّبَانِ}، قالوا: لا بشيءٍ مِن نِعَمِك رَبَّنا نُكذِّبُ؛ فلك الحمدُ!»». أخرجه الترمذي (٣٢٩١).

1. من نِعَم الله الظاهرة (١-١٣).

2. نعمة الخَلْق (١٤-١٦).

3. نِعَم الله في الآفاق (١٧-٢٥).

4. من لطائف النِّعَم (٢٦-٣٢).

5. تحدٍّ وإعجاز (٣٣-٣٦).

6. عاقبة المجرمين (٣٧-٤٥).

7. نعيم المتقين (٤٦-٧٨).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (7 /550).

مقصدُ سورة (الرَّحْمن) هو إثباتُ الرحمةِ العامة لله عز وجل، الظاهرةِ في إنعامه على خَلْقه، وأعظمُ هذه النِّعَم هو نزول القرآن، وما تبع ذلك من نِعَم كبيرة في هذا الكون.

يقول الزَّمَخْشريُّ: «عدَّد اللهُ عز وعلا آلاءه، فأراد أن يُقدِّم أولَ شيءٍ ما هو أسبَقُ قِدْمًا من ضروب آلائه وأصناف نَعْمائه؛ وهي نعمة الدِّين، فقدَّم من نعمة الدِّين ما هو في أعلى مراتبِها وأقصى مَراقيها؛ وهو إنعامُه بالقرآن وتنزيلُه وتعليمه؛ لأنه أعظَمُ وحيِ الله رتبةً، وأعلاه منزلةً، وأحسنه في أبواب الدِّين أثرًا، وهو سَنامُ الكتب السماوية ومِصْداقها والعِيارُ عليها.

وأخَّر ذِكْرَ خَلْقِ الإنسان عن ذكرِه، ثم أتبعه إياه؛ ليعلمَ أنه إنما خلَقه للدِّين، وليحيطَ علمًا بوحيِه وكتبِه وما خُلِق الإنسان من أجله، وكأنَّ الغرض في إنشائه كان مقدَّمًا عليه وسابقًا له، ثم ذكَر ما تميَّز به من سائر الحيوان من البيان؛ وهو المنطقُ الفصيح المُعرِب عما في الضمير». "الكشاف" للزمخشري (4 /443).