ترجمة سورة الجاثية

King Fahad Quran Complex - Thai translation

ترجمة معاني سورة الجاثية باللغة التايلاندية من كتاب King Fahad Quran Complex - Thai translation.

สูเราะฮฺ อัล-ญาษิยะฮฺ


ฮา มีม

การประทานลงมาขอคัมภีร์นี้จากอัลลอฮฺ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ

แท้จริงในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินนั้น แน่นอนย่อมมีสัญญาณหลากหลายสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา

และในการบังเกิดพวกเจ้า และสิ่งที่พระองค์ทรงให้สัตว์แต่ละชนิดแพร่สะพัดออกไปนั้นย่อมเป็นสัญญาณหลากหลายสำหรับหมู่ชนผู้เชื่อมั่น

และการสับเปลี่ยนของกลางคืนและกลางวัน และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงหลั่งลงมาจากฟากฟ้า เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพนั้น พระองค์ทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาโดยน้ำฝนหลังจากการแห้งแล้งของมัน และการเปลี่ยนทิศทางเดินของลมย่อมเป็นสัญญาณหลากหลายสำหรับหมู่ชนผู้ใช้สติปัญญา

นั่นคือสัญญาณต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ ซึ่งเราได้สาธยายสัญญาณเหล่านั้นแก่เจ้าด้วยความจริง และสัญญาณต่าง ๆ ของพระองค์ที่พวกเขาจะศรัทธากัน

ความหายนะจงประสบแด่ทุกคนที่เป็นผู้โกหก ผู้ทำบาปมาก

เขาได้ฟังอายาต (อัลกุรอาน) ของอัลลอฮฺถูกสาธยายแก่เขา แล้วเขาก็ดื้อรั้นอย่างยะโส ประหนึ่งว่าเขาไม่เคยฟังอายาตมาก่อนเลยดังนั้นจงแจ้งข่าวแก่เขาถึงการลงโทษอันเจ็บปวด

และเมื่อเขาได้ทราบสิ่งใดจากอายาตของเรา เขาก็ถือเอาอายาตนั้น ๆ เป็นการล้อเลียน ชนเหล่านี้สำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ

เบื้องหน้าพวกเขาคือนรกญะฮันมัน และสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้จะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่พวกเขาได้ และสิ่งที่พวกเขายึดถือเอาเป็นผู้คุ้มครองอื่นจากอัลลอฮฺ ก็จะไม่อำนวยประโยชน์เช่นกัน และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างใหญ่หลวง

นี่คือแนวทางที่ถูกต้อง ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออายาต (อัลกุรอาน) แห่งพระเจ้าของพวกเขา สำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันมหันต์อย่างเจ็บปวด

อัลลอฮฺ คือผู้ทรงทำให้ทะเลเป็นประโยชน์สำหรับพวกเจ้า เพื่อให้เรือเดินสมุทรแล่นไปตามน่านน้ำโดยพระบัญชาของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้แสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ

และพระองค์ทรงทำให้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า ทั้งหมดนี้มาจากพระองค์แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดแก่บรรดาผู้ศรัทธาให้พวกเขาอภัยแก่บรรดาผู้ที่ไม่หวังในวันทั้งหลายของอัลลอฮฺ เพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนแก่หมู่ชนตามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้

ผู้ใดกระทำความดีก็จะได้แก่ตัวของเขาเอง และผู้ใดกระทำความชั่ว ก็จะตกหนักแก่ตัวของเขาเองแล้วพวกเจ้าย่อมจะกลับไปหาพระเจ้าของพวกเจ้า

และโดยแน่นอนเราได้ประทานคัมภีร์และข้อชี้ขาดตัดสินและการเป็นนะบีแก่วงศ์วานของอิสรออีล และเราได้ให้ปัจจัยยังชีพจากสิ่งดีๆ แก่พวกเขา และเราได้ยกย่องพวกเขาให้เหนือประชาชาติทั้งหลายในยุคนั้น

และเราได้ประทานหลักฐานอันชัดแจ้งทั้งหลายแก่พวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขามิได้ขัดแย้งกันเว้นแต่หลักการ ได้มีความรู้มายังพวกเขาแล้วแต่เนื่องจากความริษยาระหว่างพวกเขากันเอง แท้จริงพระเจ้าจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขาในวันกิยามะฮฺ ในสิ่งที่พวกเขาได้ขัดแย้งกันในเรื่องนั้น

แล้วเราได้ตั้งเจ้าให้อยู่บนแนวทางหนึ่ง ในเรื่องของศาสนาที่แท้จริง ดังนั้นจงปฏิบัติตามแนวทางนั้น และอย่าได้ปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของบรรดาผู้ไม่รู้

แท้จริงพวกเขาไม่อาจจะช่วยเจ้าให้พ้นจากอัลลอฮฺแต่อย่างใด และแท้จริงพวกอธรรมนั้นต่างก็เป็นมิตรซึ่งกันและกัน แต่อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้ยำเกรง

อัลกุรอานนี้เป็นแสงสว่างแก่มวลมนุษย์ และเป็นแนวทางที่ถูกต้องและความเมตตาแก่หมู่ชนที่มีความเชื่อมั่น

หรือบรรดาผู้ที่กระทำความชั่ว คิดหรือว่าเราจะทำให้พวกเขาเป็นเช่นกับบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย ให้เท่าเทียมกันทั้งในเวลามีชีวิตของพวกเขาและการตายของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาตัดสินนั้นมันชั่วแท้ ๆ

และอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินด้วยความเที่ยงธรรม และเพื่อทุก ๆ ชีวิต (ทุกคน) จะได้รับการตอบแทนตามที่ได้ขวนขวยเอาไว้ และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแต่อย่างใด

เจ้าเคยเห็นผู้ที่ยึดถือเอาอารมณ์ต่ำของเขาเป็นพระเจ้าของเขาบ้างไหม ? และอัลลอฮฺจะทรงให้เขาหลงทางด้วยการรอบรู้ (ของพระองค์) และทรงผนึกการการฟังของเขาและหัวใจของเขาและทรงทำให้มีสิ่งบดบังดวงตาของเขา ดังนั้นผู้ใดเล่าจะชี้แนะแก่เขาหลังจากอัลลอฮฺ พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ ?

และพวกเขากล่าวว่า ไม่มีชีวิตอื่นใดดอกนอกจากการมีชีวิตของเราในโลกนี้ เราจะตายไปและเราจะมีชีวิตอยู่ และไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายเราได้ (ให้เราตาย) นอกจากกาลเวลาเท่านั้น สำหรับพวกเขาไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดอก นอกจากพวกเขาเดาเองเท่านั้น

และเมื่ออายาตต่าง ๆ อันชัดแจ้งของเราถูกสาธยายแก่พวกเขา ข้อขัดแย้งของพวกเขาก็ไม่มีอะไร นอกจากพวกเขาจะกล่าวว่า จงนำบรรพบุรุษของเราให้คืนชีพกลับมา หากพวกท่านเป็นผู้สัตย์จริง

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด อัลลอฮฺทรงให้พวกท่านมีชีวิตขึ้นมา และทรงให้พวกท่านตายไป แล้วพระองค์จะทรงรวบรวมพวกท่านในวันกิยามะฮฺ อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ในเรื่องนั้น แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้

และอำนาจเด็ดขาดแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นเป็นของอัลลอฮฺ วันแห่งยามอวสานจะเกิดขึ้นในวันนั้น บรรดาผู้กล่าวเท็จจะขาดทุนอย่างย่อยยับ

และเจ้าจะเห็น (กลุ่มชน) ทุกชาติอยู่ในสภาพคุกเข่า ทุกชนชาติจะถูกเรียกมาตามบันทึกของตน วันนี้พวกเจ้าจะได้รับการตอบแทนตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้

นี้คือบันทึกของเราจะพูดถึงเรื่องของพวกเจ้าด้วยความจริง แท้จริงเราได้ให้บันทึกไว้ตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้

ดังนั้นส่วนบรรดาผู้ศรัทธา และกระทำความดีทั้งหลาย พระเจ้าของพวกเจ้าของพวกเขาก็จะทรงให้พวกเขาเข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ นั่นคือความสำเร็จอันชัดแจ้ง

และส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธผู้ศรัทธานั้นอายาตต่าง ๆ ของข้า มิได้ถูกสาธยายแก่พวกเจ้าดอกหรือ ? แต่พวกเจ้าอวดโอหังและพวกเจ้าเป็นหมู่ชนผู้กระทำผิด

และเมื่อได้มีการกล่าวว่า แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นความจริง และยามอวสานนั้นไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ในเรื่องนั้น พวกเจ้าก็จะกล่าวว่า เราไม่รู้ว่ายามอวสานคืออะไร ? เราคิดว่ามันมิใช่อะไรเลย นอกจากเป็นการเดาเท่านั้น และเรามิได้เป็นผู้เชื่อมั่นในเรื่องนี้

และความชั่วที่พวกเขาได้กระทำเอาไว้จะเป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขา และสิ่งที่พวกเขาเคยเยาะเย้ยไว้นั้นห้อมล้อมพวกเขา

และจะมีเสียงกล่าวขึ้นว่า วันนี้เราจะลืมพวกเจ้าเช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบในวันนี้ของพวกเจ้า และนรกคือที่พำนักของพวกเจ้า และสำหรับพวกเจ้าจะไม่มีผู้ช่วยเหลือ

เช่นนั้นแหละ เพราะพวกเจ้าได้ยึดถือเอาอายาตต่าง ๆ ของอัลลอฮฺเป็นการล้อเลียนและชีวิตในโลกดุนยานี้ ได้ล่อลวงพวกเจ้า ดังนั้นวันนี้พวกเข้าจะไม่ถูกนำออกจากนรกนั้นและพวกเข้าจะไม่ถูกขอร้องให้กลับไปแก้ตัวเพื่อขอขมาโทษ

ฉะนั้นมวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย และพระเจ้าแห่งแผ่นดินนี้ พระเจ้าแห่งสากลโลก

ความยิ่งใหญ่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และในแผ่นดินนี้เป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ
سورة الجاثية
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورةُ (الجاثية) من السُّوَر المكية، وقد جاءت ببيانِ اتصاف الله بكمال العِزَّة والحِكْمة، والقدرة والعدل؛ ومن ذلك: قيامُه بجَمْعِ الخلائق يوم القيامة، والفصلِ بينهم على أعمالهم في يوم مَهُولٍ تجثو فيه الناسُ على رُكَبِها، وفي ذلك حثٌّ على صدق العمل في الدنيا؛ فاللهُ مُحْصٍ كلَّ عمل؛ عظُمَ أو صغُرَ، وجاءت السورة بتذكيرِ اللهِ خَلْقَه بنِعَمِه عليهم، والردِّ على الدَّهْريين.

ترتيبها المصحفي
45
نوعها
مكية
ألفاظها
488
ترتيب نزولها
65
العد المدني الأول
37
العد المدني الأخير
37
العد البصري
37
العد الكوفي
37
العد الشامي
37

* قوله تعالى: {وَقَالُواْ مَا هِيَ إِلَّا حَيَاتُنَا اْلدُّنْيَا نَمُوتُ وَنَحْيَا وَمَا يُهْلِكُنَآ إِلَّا اْلدَّهْرُۚ وَمَا لَهُم بِذَٰلِكَ مِنْ عِلْمٍۖ إِنْ هُمْ إِلَّا يَظُنُّونَ} [الجاثية: 24]:

عن أبي هُرَيرةَ رضي الله عنه، عن النبيِّ صلى الله عليه وسلم، قال: «كان أهلُ الجاهليَّةِ يقولون: إنَّما يُهلِكُنا الليلُ والنهارُ، وهو الذي يُهلِكُنا ويُمِيتُنا ويُحْيِينا، فقال اللهُ في كتابه: {وَقَالُواْ مَا هِيَ إِلَّا حَيَاتُنَا اْلدُّنْيَا نَمُوتُ وَنَحْيَا وَمَا يُهْلِكُنَآ إِلَّا اْلدَّهْرُۚ} [الجاثية: 24]، قال: فيسُبُّون الدَّهْرَ، فقال اللهُ تبارَكَ وتعالى: يُؤذِيني ابنُ آدَمَ؛ يسُبُّ الدَّهْرَ، وأنا الدَّهْرُ، بِيَدي الأمرُ، أُقلِّبُ الليلَ والنهارَ». "الصحيح المسند من أسباب النزول" (1 /183).

* سورة (الجاثية):

اختصَّتْ سورةُ (الجاثية) بذكرِ لفظ (جاثية)، الذي يتعلق بيوم القيامة وأهواله، يوم تجثو الناسُ على رُكَبِها من الفزع؛ قال تعالى: {وَتَرَىٰ كُلَّ أُمَّةٖ جَاثِيَةٗۚ كُلُّ أُمَّةٖ تُدْعَىٰٓ إِلَىٰ كِتَٰبِهَا اْلْيَوْمَ تُجْزَوْنَ مَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ} [الجاثية: 28].

* سورة (الشَّريعة):

سُمِّيت بهذا الاسم؛ لوقوع لفظ (شريعة) فيها، ولم يقَعْ في غيرها من القرآن؛ قال تعالى: {ثُمَّ جَعَلْنَٰكَ عَلَىٰ ‌شَرِيعَةٖ مِّنَ اْلْأَمْرِ فَاْتَّبِعْهَا وَلَا تَتَّبِعْ أَهْوَآءَ اْلَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ} [الجاثية: 18].

1. مصدر القرآن الكريم، وإثباتُ وَحْدانية الله (١-٦).

2. جزاء المكذِّبين بآيات الله (٧-١١).

3. التذكير بنِعَم الله على عباده (١٢-١٥).

4. نِعَمُه الخاصة ببني إسرائيل، وإنزالُ الشرائع (١٦-٢٠).

5. عدلُه في المحسِنين والمسِيئين (٢١-٢٣).

6. الرد على الدَّهْريِّين (٢٤-٢٧).

7. من مَشاهد يوم القيامة (٢٨-٣٧).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (7 /161).

إثباتُ صِفَتَيِ العِزَّة والحِكْمة لله عز وجل؛ فمن كمال عِزَّته وحِكْمته: جمعُ الخلائق يوم القيامة للفصل بينهم، وجزاؤُهم على أعمالهم، بعد أن بيَّن لهم طريقَيِ الخير والشر، وأقام الحُجة عليهم.

واسمُ السورة دالٌّ أتمَّ الدلالة على هذا المقصد، و(الجاثية) اسمٌ من أسمائها يدل على هولِ ما يحصل فيها.

ينظر: "مصاعد النظر للإشراف على مقاصد السور" للبقاعي (2 /476).