ترجمة سورة الممتحنة

الترجمة التايلاندية

ترجمة معاني سورة الممتحنة باللغة التايلاندية من كتاب الترجمة التايلاندية.
من تأليف: مجموعة من جمعية خريجي الجامعات والمعاهد بتايلاند .

[60.1] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าได้คบศัตรูของข้าและศัตรูของพวกเจ้าเป็นมิตร โดยให้ความรักใคร่แก่พวกเขา และทั้ง ๆ ที่พวกเขาปฏิเสธศรัทธาต่อสิ่งที่มีมายังพวกเจ้า คือสัจธรรม พวกเขาขับไล่รอซูล และโดยเฉพาะพวกเจ้า เนื่องเพราะพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺ พระเจ้าของพวกเจ้า หากพวกเจ้าได้เคยออกไปต่อสู้ในแนวทางของข้า และแสวงหาความโปรดของข้า (ดังนั้น พวกเจ้าอย่าได้คบพวกปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากข้า) โดยซ่อนความรักใคร่แก่พวกเขาอย่างลับ ๆ และข้ารู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าปิดบัง และสิ่งที่พวกเจ้าเปิดเผย และผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากระทำเช่นนั้น แน่นอน เขาได้หลงจากทางอันเที่ยงธรรม
[60.2] หากพวกเขามีสถานะดีกว่าพวกเจ้า พวกเขาก็จะแสดงตัวเป็นศัตรูกับพวกเจ้า และจะยื่นมือของพวกเขาไปยังพวกเจ้า (ทำร้าย) และลิ้นของพวกเขาจะกล่าวร้ายสาปแช่ง และพวกเขาใคร่ที่จะให้พวกเจ้าเป็นพวกปฏิเสธศรัทธา
[60.3] ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้า และลูกหลานของพวกเจ้าจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่พวกเจ้า ในวันกิยามะฮฺพระองค์จะทรงตัดสินระหว่างพวกเจ้า และอัลลอฮฺทรงสอดส่องในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ
[60.4] แน่นอนได้มีแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้วใน (ตัว) อิบรอฮีม และบรรดา (มุอฺมิน) ผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เมื่อพวกเขากล่าวแก่หมู่ชนของพวกเขาว่า แท้จริงพวกเราขอปลีกตัวจากพวกท่านและสิ่งที่พวกท่านเคารพบูชาอื่น จากอัลลอฮฺ เราขอปฏิเสธศรัทธาต่อ (ศาสนาของ) พวกท่าน และการเป็นศัตรูและการเกลียดชังระหว่างพวกเรากับพวกท่านได้ปรากฏขึ้นแล้ว (และจะคงอยู่) ตลอดไปจนกว่าพวกท่านจะศรัทธาต่ออัลลอฮฺองค์เดียว นอกจากคำกล่าวของอิบรอฮีมแก่บิดาของเขา (ที่ว่า)แน่นอนฉันจะขออภัยโทษให้แก่ท่านทั้ง ๆ ที่ฉันไม่มีอำนาจอันใดจะช่วยท่าน (ให้พ้นจากการลงโทษ) จากอัลลอฮฺได้ ข้าแต่พระเจ้าของเรา แด่พระองค์ท่าน เราขอมอบหมายและยังพระองค์ท่านเท่านั้น เราขอลุแก่โทษ และยังพระองค์ท่านเท่านั้นคือการกลับไป
[60.5] ข้าแต่พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงอย่าให้เราเป็นที่ทดสอบของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้แก่เรา ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ
[60.6] โดยแน่นอน ได้มีแบบอย่างอันดีงาม ในพวกเขาสำหรับพวกเจ้าแล้ว แก่ผู้ที่หวังใน(การตอบแทนของ) อัลลอฮฺและวันสุดท้าย และผู้ใดผินหลังให้ (การศรัทธา) ดังนั้น แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงพอเพียง ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ
[60.7] บางทีอัลลอฮฺจะทรงทำให้เกิดความรักใคร่ระหว่างพวกเจ้ากับบรรดาผู้ที่พวกเจ้าถือเป็นศัตรูในหมู่พวกเขา และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอานุภาพและอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
[60.8] อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม
[60.9] แต่ว่าอัลลอฮฺทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า และช่วยเหลือให้ขับไล่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะผูกมิตรกับพวกเขาและผู้ใดผูกมิตรกับพวกเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้อธรรม
[60.10] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อบรรดาหญิงผู้ศรัทธาเป็นผู้ลี้ภัยมาหาพวกเจ้า ก็จงสอบสวนพวกนาง อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งในการศรัทธาของพวกนาง ครั้นเมื่อพวกเจ้ารู้ว่าพวกนางเป็นผู้ศรัทธา ก็อย่าได้ส่งพวกนางกลับไปยังพวกปฏิเสธศรัทธา พวกนางมิได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา และพวกเขาก็มิได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกนาง และจงจ่ายคืนให้พวกเขา(สามีเดิมที่เป็นกาเฟร) สิ่งที่พวกเขาได้จ่ายไป (มะฮัร) และไม่เป็นบาปอันใดแก่พวกเจ้าที่จะแต่งงานกับพวกนาง เมื่อพวกเจ้าได้ให้แก่พวกนางซึ่งของหมั้นของพวกนาง และอย่าหน่วงเหนี่ยวพันธะการแต่งงานของบรรดาหญิงผู้ปฏิเสธศรัทธา และจงขอคืนสิ่งที่พวกเจ้าได้ใช้จ่ายไป และให้พวกเขาขอคืนสิ่งที่พวกเขาได้ใช้จ่ายไป นั่นคือข้อตัดสินของอัลลอฮฺ พระองค์ทรงตัดสินในระหว่างพวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
[60.11] และถ้าคนใดในบรรดาภริยาของพวกเจ้าหนีออกไปสู่พวกปฏิเสธศรัทธาแล้ว ครั้นเมื่อพวกเจ้าสามารถแก้แค้นริบทรัพย์มาได้ ก็จงจ่ายคืนให้แก่บรรดาผู้ที่บรรดาภริยาของพวกเขาหนีไปเท่ากับจำนวนที่พวกเขาได้จ่ายไป และจงยำเกรงอัลลอฮฺผู้ซึ่งพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่อพระองค์เถิด
[60.12] โอ้นบีเอ๋ย เมื่อบรรดาหญิงผู้ศรัทธาได้มาหาเจ้า โดยพวกนาง ให้ปฏิญาณแก่เจ้าว่าพวกนางจะไม่ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮฺ และจะไม่ขโมย และจะไม่ทำชู้ และจะไม่ฆ่าลูก ๆ ของพวกนาง และจะไม่นำมาซึ่งการใส่ร้ายโดยการเสกสรรลูกหลงพ่อให้เป็นลูกของเขา และจะไม่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าในเรื่องดีงาม ดังนั้นจงรับการปฏิญาณของพวกนาง และจงขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงอภัยแก่พวกนาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
[60.13] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าได้คบกับหมู่ชนที่อัลลอฮฺทรงกริ้วต่อพวกเขาไว้เป็นมิตรสหาย แน่นอนพวกเขาหมดหวังต่อวันปรโลกแล้ว เสมือนกับที่พวกปฏิเสธศรัทธาหมดหวังต่อ (การฟื้นคืนชีพของ) ชาวกุบูร
سورة الممتحنة
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورة (الممتحنة) من السُّوَر المدنية، نزلت بعد سورة (الأحزاب)، وقد جاءت بالنهيِ عن موالاة الكفار واتخاذِهم أولياءَ، وجعلت ذلك امتحانًا ودلالةً على صدقِ الإيمان واكتماله، وسُمِّيت بـ(الممتحنة) لأنَّ فيها ذِكْرَ امتحانِ النساء المهاجِرات المبايِعات للنبي صلى الله عليه وسلم؛ قال تعالى: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا جَآءَكُمُ اْلْمُؤْمِنَٰتُ مُهَٰجِرَٰتٖ فَاْمْتَحِنُوهُنَّۖ} [الممتحنة: 10].

ترتيبها المصحفي
60
نوعها
مدنية
ألفاظها
352
ترتيب نزولها
91
العد المدني الأول
13
العد المدني الأخير
13
العد البصري
13
العد الكوفي
13
العد الشامي
13

* قوله تعالى: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَتَّخِذُواْ عَدُوِّي وَعَدُوَّكُمْ أَوْلِيَآءَ تُلْقُونَ إِلَيْهِم بِاْلْمَوَدَّةِ وَقَدْ كَفَرُواْ بِمَا جَآءَكُم مِّنَ اْلْحَقِّ يُخْرِجُونَ اْلرَّسُولَ وَإِيَّاكُمْ أَن تُؤْمِنُواْ بِاْللَّهِ رَبِّكُمْ إِن كُنتُمْ خَرَجْتُمْ جِهَٰدٗا فِي سَبِيلِي وَاْبْتِغَآءَ مَرْضَاتِيۚ تُسِرُّونَ إِلَيْهِم بِاْلْمَوَدَّةِ وَأَنَا۠ أَعْلَمُ بِمَآ أَخْفَيْتُمْ وَمَآ أَعْلَنتُمْۚ وَمَن يَفْعَلْهُ مِنكُمْ فَقَدْ ضَلَّ سَوَآءَ اْلسَّبِيلِ} [الممتحنة: 1]:

عن عليِّ بن أبي طالبٍ رضي الله عنه، قال: «بعَثَني رسولُ اللهِ ﷺ أنا والزُّبَيرَ والمِقْدادَ، فقال: «انطلِقوا حتى تأتوا رَوْضةَ خاخٍ؛ فإنَّ بها ظعينةً معها كتابٌ، فَخُذوا منها»، قال: فانطلَقْنا تَعادَى بنا خَيْلُنا حتى أتَيْنا الرَّوْضةَ، فإذا نحنُ بالظَّعينةِ، قُلْنا لها: أخرِجي الكتابَ، قالت: ما معي كتابٌ، فقُلْنا: لَتُخرِجِنَّ الكتابَ، أو لَنُلقِيَنَّ الثِّيابَ، قال: فأخرَجتْهُ مِن عِقاصِها، فأتَيْنا به رسولَ اللهِ ﷺ، فإذا فيه: مِن حاطبِ بنِ أبي بَلْتعةَ، إلى ناسٍ بمكَّةَ مِن المشرِكين، يُخبِرُهم ببعضِ أمرِ رسولِ اللهِ ﷺ، فقال رسولُ اللهِ ﷺ: «يا حاطبُ، ما هذا؟»، قال: يا رسولَ اللهِ، لا تَعجَلْ عليَّ، إنِّي كنتُ امرأً ملصَقًا في قُرَيشٍ، يقولُ: كنتُ حليفًا، ولم أكُنْ مِن أنفُسِها، وكان مَن معك مِن المهاجِرِينَ مَن لهم قراباتٌ يحمُونَ أهلِيهم وأموالَهم، فأحبَبْتُ إذ فاتَني ذلك مِن النَّسَبِ فيهم أن أتَّخِذَ عندهم يدًا يحمُونَ قرابتي، ولم أفعَلْهُ ارتدادًا عن دِيني، ولا رضًا بالكفرِ بعد الإسلامِ، فقال رسولُ اللهِ ﷺ: «أمَا إنَّه قد صدَقَكم»، فقال عُمَرُ: يا رسولَ اللهِ، دَعْني أضرِبْ عُنُقَ هذا المنافقِ، فقال: «إنَّه قد شَهِدَ بَدْرًا، وما يُدرِيك لعلَّ اللهَ اطَّلَعَ على مَن شَهِدَ بَدْرًا، فقال: اعمَلوا ما شِئْتم فقد غفَرْتُ لكم! فأنزَلَ اللهُ السُّورةَ: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَتَّخِذُواْ عَدُوِّي وَعَدُوَّكُمْ أَوْلِيَآءَ تُلْقُونَ إِلَيْهِم بِاْلْمَوَدَّةِ وَقَدْ كَفَرُواْ بِمَا جَآءَكُم مِّنَ اْلْحَقِّ} [الممتحنة: 1] إلى قولِه: {فَقَدْ ضَلَّ سَوَآءَ اْلسَّبِيلِ} [الممتحنة: 1]». أخرجه البخاري (٤٢٧٤).

* قوله تعالى: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا جَآءَكُمُ اْلْمُؤْمِنَٰتُ مُهَٰجِرَٰتٖ فَاْمْتَحِنُوهُنَّۖ اْللَّهُ أَعْلَمُ بِإِيمَٰنِهِنَّۖ فَإِنْ عَلِمْتُمُوهُنَّ مُؤْمِنَٰتٖ فَلَا تَرْجِعُوهُنَّ إِلَى اْلْكُفَّارِۖ لَا هُنَّ حِلّٞ لَّهُمْ وَلَا هُمْ يَحِلُّونَ لَهُنَّۖ} [الممتحنة: 10]:

عن عُرْوةَ بن الزُّبَيرِ، أنَّه سَمِعَ مَرْوانَ والمِسْوَرَ بن مَخرَمةَ رضي الله عنهما يُخبِرانِ عن أصحابِ رسولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم، قال: «لمَّا كاتَبَ سُهَيلُ بنُ عمرٍو يومَئذٍ، كان فيما اشترَطَ سُهَيلُ بنُ عمرٍو على النبيِّ صلى الله عليه وسلم: أنَّه لا يأتيك منَّا أحدٌ - وإن كان على دِينِك - إلا ردَدتَّه إلينا، وخلَّيْتَ بَيْننا وبَيْنَه، فكَرِهَ المؤمنون ذلك، وامتعَضوا منه، وأبى سُهَيلٌ إلا ذلك، فكاتَبَه النبيُّ صلى الله عليه وسلم على ذلك، فرَدَّ يومَئذٍ أبا جَنْدلٍ إلى أبيه سُهَيلِ بنِ عمرٍو، ولم يأتِه أحدٌ مِن الرِّجالِ إلا رَدَّه في تلك المُدَّةِ، وإن كان مسلِمًا، وجاءت المؤمِناتُ مهاجِراتٍ، وكانت أمُّ كُلْثومٍ بنتُ عُقْبةَ بنِ أبي مُعَيطٍ ممَّن خرَجَ إلى رسولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم يومَئذٍ، وهي عاتِقٌ، فجاءَ أهلُها يَسألون النبيَّ صلى الله عليه وسلم أن يَرجِعَها إليهم، فلم يَرجِعْها إليهم؛ لِما أنزَلَ اللهُ فيهنَّ: {إِذَا جَآءَكُمُ اْلْمُؤْمِنَٰتُ مُهَٰجِرَٰتٖ فَاْمْتَحِنُوهُنَّۖ اْللَّهُ أَعْلَمُ بِإِيمَٰنِهِنَّۖ} [الممتحنة: 10] إلى قولِه: {وَلَا هُمْ يَحِلُّونَ لَهُنَّۖ} [الممتحنة: 10]».

قال عُرْوةُ: «فأخبَرتْني عائشةُ: أنَّ رسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم كان يمتحِنُهنَّ بهذه الآيةِ: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا جَآءَكُمُ اْلْمُؤْمِنَٰتُ مُهَٰجِرَٰتٖ فَاْمْتَحِنُوهُنَّۖ} [الممتحنة: 10] إلى {غَفُورٞ رَّحِيمٞ} [الممتحنة: 12]».

قال عُرْوةُ: «قالت عائشةُ: فمَن أقَرَّ بهذا الشرطِ منهنَّ، قال لها رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم: «قد بايَعْتُكِ»؛ كلامًا يُكلِّمُها به، واللهِ، ما مسَّتْ يدُه يدَ امرأةٍ قطُّ في المبايَعةِ، وما بايَعَهنَّ إلا بقولِه». أخرجه البخاري (٢٧١١).

* سورة (الممتحنة):

سُمِّيت سورة (الممتحنة) بهذا الاسم؛ لأنه جاءت فيها آيةُ امتحان إيمان النساء اللواتي يأتينَ مهاجِراتٍ من مكَّةَ إلى المدينة؛ قال تعالى: {يَٰٓأَيُّهَا اْلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا جَآءَكُمُ اْلْمُؤْمِنَٰتُ مُهَٰجِرَٰتٖ فَاْمْتَحِنُوهُنَّۖ} [الممتحنة: 10].

1. النهيُ عن موالاة الكفار (١-٦).

2. الموالاة المباحة، والموالاة المحرَّمة (٧-٩).

3. امتحان المهاجِرات (١٠-١١).

4. بَيْعة المؤمنات (١١-١٣).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (8 /96).

مقصدُ سورة (الممتحنة) هو البراءةُ من الشرك والمشركين، وعدمُ اتخاذهم أولياءَ، وفي ذلك دلالةٌ على صدقِ التوحيد واكتماله.

يقول ابنُ عاشور رحمه الله: «اشتملت من الأغراض على تحذيرِ المؤمنين من اتخاذ المشركين أولياءَ مع أنهم كفروا بالدِّين الحق، وأخرَجوهم من بلادهم.

وإعلامِهم بأن اتخاذَهم أولياءَ ضلالٌ، وأنهم لو تمكَّنوا من المؤمنين، لأساؤوا إليهم بالفعل والقول، وأن ما بينهم وبين المشركين من أواصرِ القرابة لا يُعتد به تجاه العداوة في الدِّين، وضرَب لهم مثَلًا في ذلك قطيعةَ إبراهيم لأبيه وقومه.

وأردَف ذلك باستئناس المؤمنين برجاءِ أن تحصُلَ مودةٌ بينهم وبين الذين أمرهم اللهُ بمعاداتهم؛ أي: هذه معاداةٌ غيرُ دائمة...». "التحرير والتنوير" لابن عاشور (28 /131).

وينظر: "مصاعد النظر للإشراف على مقاصد السور" للبقاعي (3 /76).