ترجمة سورة الإنسان

الترجمة التايلاندية

ترجمة معاني سورة الإنسان باللغة التايلاندية من كتاب الترجمة التايلاندية.
من تأليف: مجموعة من جمعية خريجي الجامعات والمعاهد بتايلاند .

[76.1] แน่นอนกาลเวลาที่ยาวนานได้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เมื่อเขามิได้เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงเลย
[76.2] แท้จริงเราได้สร้างมนุษย์จากน้ำเชื้อผสมหยดหนึ่ง เพื่อเราได้ทดสอบเขา ดังนั้นเราจึงทำให้เขาเป็นผู้ได้ยิน เป็นผู้ได้เห็น
[76.3] แท้จริงเราได้ชี้แนะแนวทางให้แก่เขาแล้ว บางทีเขาก็เป็นผู้กตัญญู และบางทีเขาก็เป็นผู้เนรคุณ
[76.4] แท้จริงเราได้เตรียมโซ่ตรวน และกุญแจมือ และไฟที่ลุกโชติช่วงไว้สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา
[76.5] แท้จริงบรรดาผู้ทรงคุณธรรมนั้น จะได้ดื่มจากแก้วน้ำ ซึ่งผสมด้วยการบูรหอม
[76.6] เป็นตาน้ำพุที่ปวงบ่าวของอัลลอฮฺจะได้ดื่ม พวกเขาทำให้มันพวยพุ่งออกมาอย่างล้นเหลือ
[76.7] พวกเขาปฏิบัติตามคำสัตย์สาบาน และกลัวต่อวันหนึ่งที่ความชั่วร้ายของมันจะกระจายไปทั่ว
[76.8] และพวกเขาให้อาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก
[76.9] (พวกเขากล่าวว่า) แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยหวังความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เรามิได้หวังการตอบแทนและการขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด
[76.10] แท้จริงเรากลัวต่อพระเจ้าของเรา ซึ่งเป็นวันแห่งหน้านิ่วคิ้วขมวดและแสนสาหัส
[76.11] ดังนั้น อัลลอฮฺจะทรงปกป้องพวกเขาให้พ้นจากความชั่วร้ายของวันนั้น และจะทรงให้พวกเขาพบกับความสดชื่นและความปิติ
[76.12] และพระองค์จะทรงตอบแทนแก่พวกเขาด้วยสวนสวรรค์ และอาภรณ์ไหมแพร เนื่องเพราะพวกเขาอดทน
[76.13] นอนเอกเขนกอยู่บนเก้าอี้นวมยาวในสวนสวรรค์ พวกเขาจะไม่พบเห็นแสงอาทิตย์ และความหนาวเหน็บ
[76.14] และร่มเงาของสวนสวรรค์จะปกคลุมพวกเขาอย่างใกล้ชิด และผลไม้ในสวนสวรรค์ถูกโน้มต่ำลงมาใกล้พวกเขา
[76.15] และมีภาชนะที่ทำด้วยเงิน และแก้วน้ำที่ทำด้วยแก้วใสถูกวนเวียนรอบ ๆ พวกเขา
[76.16] แก้วที่ทำด้วยเงินโดยพวกเขาจะเติมมันตามสัดส่วนที่พวกเขาต้องการ
[76.17] และในสวนสวรรค์นั้น พวกจะได้รับเครื่องดื่มจากแก้วซึ่งผสมด้วยขิง
[76.18] ในสวนสวรรค์มีตาน้ำพุที่มีชื่อว่าซัลสะบีล
[76.19] และมีเด็กวัยรุ่นวนเวียนรอบ ๆ พวกเขา เมื่อเจ้าเห็นพวกเขา เจ้าคิดว่าพวกเขาเป็นไข่มุกที่เรียงราย
[76.20] และเมื่อเจ้ามองไปยังที่นั่น เจ้าจะพบแต่ความสุข และอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล
[76.21] บนพวกเขามีอาภรณ์สีเขียวทำด้วยผ้าไหมละเอียด และผ้าไหมหยาบ และถูกประดับด้วยกำไลเงิน และพระเจ้าของพวกเขาจะทรงให้พวกเขาได้ดื่มเครื่องดื่มอันบริสุทธิ์ยิ่ง
[76.22] แท้จริงนี่คือ การตอบแทนแก่พวกเจ้า และการบากบั่นของพวกเจ้านั้นเป็นที่ยอมรับด้วยความยินดี
[76.23] แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานให้แก่เจ้าเป็นขั้นตอน
[76.24] ดังนั้น เจ้าจงอดทนคอยข้อตัดสินของพระเจ้าของเจ้า และอย่าเชื่อฟังผู้ประพฤติชั่ว และผู้ปฏิเสธศรัทธาคนใดในหมู่พวกเขา
[76.25] และจงรำลึกถึงพระนามของพระเจ้าของเจ้าทั้งในยามเช้าและยามเย็น
[76.26] และจากส่วนหนึ่งของกลางคืนก็จงสุญดต่อพระองค์ และจงแซ่ซ้องสดุดีพระองค์ ในยามกลางคืนอันยาวนาน
[76.27] แท้จริง ชนเหล่านี้ (พวกปฏิเสธศรัทธา) รักชีวิตชั่วคราว และปล่อยทิ้งวันอันหนักหน่วงไว้เบื้องหลังพวกเขา
[76.28] เราได้บังเกิดพวกเขา และเราได้ทำให้เรือนร่างของพวกเขามั่นคงแข็งแรง และหากเราประสงค์ เราก็จะเปลี่ยนพวกอื่นเยี่ยงพวกเขา
[76.29] แท้จริงนี่คือข้อเตือนสติ ดังนั้นผู้ใดต้องการก็ให้เขายึดแนวทางสู่พระเจ้าของเขา
[76.30] แต่พวกเจ้าจะไม่สมความปรารถนาได้ เว้นแต่ที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
[76.31] พระองค์จะทรงให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เข้าสู่ความเมตตาของพระองค์ แต่บรรดาผู้อธรรมนั้น พระองค์ทรงเตรียมการลงโทษอันเจ็บปวดไว้สำหรับพวกเขา
سورة الإنسان
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورة (الإنسان) من السُّوَر المكية، نزلت بعد سورة (الرحمن)، وقد ذكَّرتِ الإنسانَ بأصل خِلْقته، وقدرة الله عليه؛ ليتواضعَ لأمر الله ويستجيب له؛ فاللهُ هو الذي جعل هذا الإنسانَ سميعًا بصيرًا؛ فالواجب المتحتم عليه أن تُجعَلَ هذه الجوارحُ كما أراد لها خالقها وبارئها؛ ليكونَ بذلك حسَنَ الجزاء يوم القيامة، ومَن كفر فمشيئة الله نافذةٌ في عذابه إياه، وقد كان صلى الله عليه وسلم يَقرؤها في فجرِ الجمعة.

ترتيبها المصحفي
76
نوعها
مكية
ألفاظها
243
ترتيب نزولها
98
العد المدني الأول
31
العد المدني الأخير
31
العد البصري
31
العد الكوفي
31
العد الشامي
31

* سورة (الإنسان):

سُمِّيت سورة (الإنسان) بهذا الاسم؛ لافتتاحها بذكرِ الإنسان وخَلْقِه من عدمٍ.

* سورة {هَلْ أَتَىٰ} أو {هَلْ أَتَىٰ عَلَى اْلْإِنسَٰنِ}:

سُمِّيت بذلك؛ لافتتاحها به.

كان صلى الله عليه وسلم يقرأ سورة (الإنسان) في فجرِ الجمعة:

عن عبدِ اللهِ بن عباسٍ رضي الله عنهما: «أنَّ رسولَ اللهِ ﷺ قرَأَ في صلاةِ الغداةِ يومَ الجمعةِ: {الٓمٓ ١ تَنزِيلُ} السَّجْدةَ، و{هَلْ أَتَىٰ عَلَى اْلْإِنسَٰنِ}». أخرجه مسلم (٨٧٩).

1. نعمة الخَلْق والهداية (١-٣).

2. مصير الكفار (٤).

3. جزاء الأبرار (٥-٢٢).

4. توجيهٌ للنبي عليه السلام (٢٣-٢٦).

5. وعيدٌ للمشركين (٢٧-٢٨).

6. مشيئة الله تعالى نافذة (٢٩-٣١).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (8 /511).

مقصود السورة الأعظمُ تذكيرُ الناس بأصل خِلْقَتِهم، وأنَّ الله أوجَدهم من عدم، وبَعْثُهم بعد أن أوجَدهم أسهَلُ من إيجادهم؛ ففي ذلك أكبَرُ دلالةٍ على قدرة الله على إحياء الناس وحسابهم.
وفي ذلك يقول ابن عاشور رحمه الله: «محورها التذكيرُ بأنَّ كل إنسان كُوِّنَ بعد أن لم يكُنْ، فكيف يَقضي باستحالة إعادة تكوينه بعد عدمه؟

وإثبات أن الإنسان محقوقٌ بإفراد الله بالعبادة؛ شكرًا لخالقه، ومُحذَّرٌ من الإشراك به.

وإثبات الجزاء على الحالينِ، مع شيءٍ من وصفِ ذلك الجزاء بحالتيه، والإطنابِ في وصفِ جزاء الشاكرين». "التحرير والتنوير" لابن عاشور (29 /371).