ترجمة سورة الملك

King Fahad Quran Complex - Thai translation

ترجمة معاني سورة الملك باللغة التايلاندية من كتاب King Fahad Quran Complex - Thai translation.

สูเราะฮฺ อัล-มุลก์


ความเจริญสุขจงมีแด่พระผู้ซึ่งอำนาจอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์คือผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความเป็น เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงให้อภัยเสมอ

พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ เจ้าจะไม่เห็นแต่อย่างใดในความไม่ได้สัดส่วนในการสร้างของพระผู้ทรงกรุณาปรานี ดังนั้นเจ้าจงหันกลับมามองดูซิ เจ้าเห็นรอยร้าวหรือช่องโหว่บ้างไหม ?

แล้วจงหันกลับมามองอีกเป็นครั้งที่สอง สายตานั้นก็จะกลับมายังเจ้าด้วยการยอมจำนนและในสภาพที่ละเหี่ย

และโดยแน่นอนเราได้ประดับท้องฟ้าของโลกนี้ด้วยดวงดาวเป็นแสงประทีป และเราได้ทำให้มันเป็นอาวุธไล่ชัยฏอน และเราได้เตรียมการลงโทษด้วยไฟอันร้อนแรงสำหรับพวกมัน

และสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการลงโทษแห่งนรกญะฮันนัม และมันเป็นทางกลับที่ชั่วช้ายิ่ง

เมื่อพวกเขาถูกโยนลงไปในนรกพวกเขาจะได้ยินเสียงของมันครวญครางขณะที่มันกำลังกเดือนพล่าน

มันแทบจะระเบิดออกไปเพราะความเคียดแค้น ทุกครั้งที่พวกหนึ่งถูกโยนลงไปในมัน ยามเฝ้านรกจะถามพวกเขาว่า มิได้มีผู้ตักเตือนมายังพวกเจ้าดอกหรือ

พวกเขากล่าวว่า มี ได้มีผู้ตักเตือนมายังเรา แต่พวกเราได้ปฏิเสธ และเรากล่าวอีกว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงประทานสิ่งใดลงมาพวกท่านต่างหากที่อยู่ในการหลงผิดอย่างมาก

และพวกเขากล่าวอีกว่า หากพวกเราฟังและใช้สติปัญญาใคร่ครวญ พวกเราก็จะมิได้มาอยู่เป็นชาวนรกอย่างนี้ดอก

พวกเขายอมสารภาพในความผิดของพวกเขา แต่มันห่างไกลไปเสียแล้วสำหรับชาวนรก

แท้จริงบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระเจ้าของพวกเขาโดยทางลับ สำหรับพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง

และพวกเจ้าจงปิดบังคำพูดของพวกเจ้าหรือเปิดเผยมันก็ตาม แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในทรวงอก

พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง

พระองค์คือผู้ทรงทำแผ่นดินนี้ให้ราบเรียบสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นจงสัญจรไปตามขอบเขตของมันและจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระองค์ และยังพระองค์เท่านั้นการฟื้นคืนชีพ

พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ จากการที่พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้าจะให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าแล้วขณะนั้นมันจะหวั่นไหว

หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากการที่พระผู้ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้า จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าจะได้รู้ว่าการตักเตือนของข้าเป็นเช่นใด ?

และโดยแน่นอน บรรดา (หมู่ชน) ก่อนหน้าพวกเขาได้ปฏิเสธมาก่อนแล้ว ดังนั้นการปฏิเสธคำเตือนของข้ามีผลเป็นอย่างไร?

พวกเขามิได้มองไปดูนกที่ (บิน) อยู่เบื้องบนพวกเขาดอกหรือ? มันกาวปีกและหุบปีก (ของมัน) ไม่มีผู้ใดจะไปดึงมันไว้ได้นอกจากพระผู้ทรงกรุณาปรานี แท้จริงพระองค์ทรงมองเห็นทุกสิ่งอย่าง

หรือผู้ใดเล่า ซึ่งเขาเป็นพลพรรคของพวกเจ้าที่จะช่วยเหลือพวกเจ้าอื่นจากพระผู้ทรงกรุณาปรานี? พวกปฏิเสธศรัทธานั้นมิใช่อื่นใดเลยนอกจากในการหลอกลวงเท่านั้น

หรือผู้ใดเล่าซึ่งเขาจะให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า หากพระองค์ทรงระงับปัจจัยยังชีพของพระองค์ไว้ แต่ว่าพวกเจ้าดื้อรั้นอยู่ในความหยิ่งยะโส และห่าไกลจากความจริง

ผู้ที่เดินคว่ำคมำบนใบหน้าของเขาจะเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องกว่า หรือว่าผู้ที่เดินตัวตรงอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจะขอบคุณ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์เป็นผู้ทรงแพร่เผ่าพันธ์ของพวกเจ้าในแผ่นดินและพวกเจ้าจะถูกรวบรวมให้กลับไปหาพระองค์

และพวกเขากล่าวว่า เมื่อใดเล่าสัญญานี้จะเกิดขึ้น หากพวกท่านเป็นผู้สัตย์จริง

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ความรู้ในเรื่องนั้นอยู่ที่อัลลอฮฺ ความจริงฉันเป็นเพียงผู้ตักเตือนอันแจ่มแจ้งเท่านั้น

ต่อเมื่อพวกเขาเห็นมัน (การลงโทษ) ใกล้เข้ามาแล้ว ใบหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาก็จะหม่นหมอง และจะมีเสียงกล่าวว่า นี่คือสิ่งที่่พวกเจ้าร้องขอ (ในโลกดุนยา)

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจะบอกฉันซิว่า หากอัลลอฮฺจะทรงทำลายฉันและผู้ที่อยู่ร่วมกับฉันหรือจะทรงเมตตาแก่พวกเรา ดังนั้นผู้ใดเล่าจะช่วยพวกปฏิเสธศรัทธาให้พ้นจากการลงโทษอันเจ็บปวด

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือพระผู้ทรงกรุณาปราณี เราศรัทธาต่อพระองค์แล้วเราขอมอบหมายแด่พระองค์แล้วจะได้รู้ว่าใครผู้ใดอยู่ในการหลงผิดอันชัดแจ้ง

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจงบอกฉันซิว่า หากแหล่งน้ำของพวกท่านเหือดแห้งลง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำน้ำที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน
سورة الملك
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورة (المُلْكِ) من السُّوَر المكية، وتسمى أيضًا سورة {تَبَٰرَكَ}، وسورة (المُنْجِية)، وقد جاءت للدلالة على عظيمِ قدرة الله وجلال قَدْره، وتنزيهِه عن النقائص؛ فهو المستحِقُّ للعبادة، واشتملت على تخويفٍ من عذاب الله، وتهديد من مخالَفة أمره، وأنه لا نجاةَ إلا بالرجوع إليه، والالتجاء إليه، وسورة (المُلْكِ) تَشفَع لصاحبها، وتُنجِي مَن قرأها من عذاب القبر.

ترتيبها المصحفي
67
نوعها
مكية
ألفاظها
333
ترتيب نزولها
77
العد المدني الأول
30
العد المدني الأخير
30
العد البصري
30
العد الكوفي
30
العد الشامي
30

* سورة (المُلْكِ):

سُمِّيت سورةُ (المُلْكِ) بذلك؛ لافتتاحها بتعظيمِ الله نفسَه بأنَّ بيدِه المُلْكَ؛ قال تعالى: {تَبَٰرَكَ اْلَّذِي بِيَدِهِ اْلْمُلْكُ وَهُوَ عَلَىٰ كُلِّ شَيْءٖ قَدِيرٌ} [الملك: 1].

* سورة {تَبَٰرَكَ}:

وسُمِّيت بهذا الاسمِ {تَبَٰرَكَ}؛ لافتتاحِها به.

* سورة (المُنْجِية):

وسُمِّيت بهذا الاسمِ؛ لحديثِ عبدِ اللهِ بن عباسٍ رضي الله عنهما، قال: «ضرَبَ بعضُ أصحابِ النبيِّ ﷺ خِباءَه على قَبْرٍ، وهو لا يَحسَبُ أنَّه قَبْرٌ، فإذا فيه إنسانٌ يَقرأُ سورةَ {تَبَٰرَكَ اْلَّذِي بِيَدِهِ اْلْمُلْكُ} حتى ختَمَها، فأتى النبيَّ ﷺ، فقال: يا رسولَ اللهِ، إنِّي ضرَبْتُ خِبائي على قَبْرٍ، وأنا لا أحسَبُ أنَّه قَبْرٌ، فإذا فيه إنسانٌ يَقرأُ سورةَ المُلْكِ حتى ختَمَها، فقال النبيُّ ﷺ: «هي المانعةُ، هي المُنْجِيةُ؛ تُنجِيه مِن عذابِ القَبْرِ»». أخرجه الترمذي (٢٨٩٠).

وهذا الاسمُ أقرَبُ  إلى أن يكونَ وصفًا من كونِه اسمًا.

* سورة (المُلْكِ) تَشفَع لصاحبها حتى يغفرَ اللهُ له:

عن أبي هُرَيرةَ رضي الله عنه، عن النبيِّ صلى الله عليه وسلم أنه قال: «إنَّ سورةً مِن القرآنِ ثلاثون آيةً شفَعتْ لِرَجُلٍ حتى غُفِرَ له؛ وهي: {تَبَٰرَكَ اْلَّذِي بِيَدِهِ اْلْمُلْكُ}». أخرجه الترمذي (٢٨٩١).

* سورة (المُلْكِ) تُنجِي مَن قرأها من عذاب القبر:

عن عبدِ اللهِ بن عباسٍ رضي الله عنهما، قال: «ضرَبَ بعضُ أصحابِ النبيِّ ﷺ خِباءَه على قَبْرٍ، وهو لا يَحسَبُ أنَّه قَبْرٌ، فإذا فيه إنسانٌ يَقرأُ سورةَ {تَبَٰرَكَ اْلَّذِي بِيَدِهِ اْلْمُلْكُ} حتى ختَمَها، فأتى النبيَّ ﷺ، فقال: يا رسولَ اللهِ، إنِّي ضرَبْتُ خِبائي على قَبْرٍ، وأنا لا أحسَبُ أنَّه قَبْرٌ، فإذا فيه إنسانٌ يَقرأُ سورةَ المُلْكِ حتى ختَمَها، فقال النبيُّ ﷺ: «هي المانعةُ، هي المُنْجِيةُ؛ تُنجِيه مِن عذابِ القَبْرِ»». أخرجه الترمذي (٢٨٩٠).

* كان صلى الله عليه وسلم يقرأ سورة (المُلْكِ) قبل نومه:

عن جابرِ بن عبدِ اللهِ رضي الله عنهما: «أنَّه صلى الله عليه وسلم كان لا يَنامُ حتى يَقرأَ: {الٓمٓ * تَنزِيلُ} السَّجْدةَ، و{تَبَٰرَكَ اْلَّذِي بِيَدِهِ اْلْمُلْكُ}». أخرجه الترمذي (٣٤٠٤).

1. عظيم قدرة الله، وجلال قَدْره (١-٥).

2. قُدْرته تعالى على العقاب (٦-١١).

3. قدرته تعالى على الثواب (١٢-١٥).

4. تخويفٌ وتهديد (١٦-١٩).

5. قدرته تعالى على الحَشْرِ والخَلْق (٢٠-٢٤).

6. النجاة بالتوكل على الله (٢٥-٣٠).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (8 /270).