ترجمة سورة المعارج

الترجمة التايلاندية

ترجمة معاني سورة المعارج باللغة التايلاندية من كتاب الترجمة التايلاندية.
من تأليف: مجموعة من جمعية خريجي الجامعات والمعاهد بتايلاند .

[70.1] มีคนหนึ่งได้ขอการลงโทษที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
[70.2] สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นไม่มีผู้ปัดป้องใด ๆ ให้พ้นจาการลงโทษไปได้
[70.3] (การลงโทษนั้น) มาจากอัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของแห่งทางขึ้นสู่เบื้องสูง
[70.4] มลาอิกะฮฺและอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกดุนยานี้)
[70.5] ดังนั้นเจ้าจงอดทนด้วยความอดทนที่ดีงามเถิด
[70.6] แท้จริงพวกเขา (มุชริกีน) มองเห็นการลงโทษว่าเป็นเรื่องห่างไกล
[70.7] แต่ว่าเราเห็นมัน (การลงโทษ) นั้นเป็นเรื่องใกล้
[70.8] วันที่ท้องฟ้าจะเป็นเช่นทองแดงที่หลอมละลาย
[70.9] และบรรดาภูเขาจะเป็นเช่นขนสัตว์ที่ปลิวว่อน
[70.10] และมิตรสหายจะไม่ถามถึงกัน
[70.11] ถึงแม้ว่าพวกเขาจะประสานสายตาซึ่งกันและกันก็ตาม ผู้ประพฤติชั่วก็ใคร่จะไถ่ตน ให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺในวันนั้นด้วยบุตรหลานของเขา
[70.12] และด้วยภริยาของเขา และด้วยพี่น้องของเขา
[70.13] และด้วยญาติพี่น้องของเขา ซึ่งได้ให้ที่พักอาศัยแก่เขา
[70.14] และด้วยผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวล เพื่อที่จะให้เขารอดพ้นจากการลงโทษ
[70.15] ไม่เลยทีเดียว แท้จริงมันเป็นไฟนรกที่ลุกโชน
[70.16] หนังศีรษะถูกลอกออก (เพราะความร้อนของไฟนรก)
[70.17] มันจะเรียกผู้ที่ผินหลัง และหันห่างจากความจริง
[70.18] และสะสมทรัพย์สินและปิดบังไว้
[70.19] แท้จริงมนุษย์นั้นถูกบังเกิดมาเป็นคนหวั่นไหว
[70.20] เมื่อความทุกข์ยากประสบแก่เขา ก็ตีโพยตีพายกลัดกลุ้ม
[70.21] และเมื่อคุณความดีประสบแก่เขา ก็หวงแหน
[70.22] นอกจากบรรดาผู้กระทำละหมาด
[70.23] บรรดาผู้ที่ดำรงมั่นอยู่ในการทำละหมาดของพวกเขาเป็นประจำ
[70.24] และบรรดาผู้ที่ในทรัพย์สินของพวกเขามีส่วนที่ถูกกำหนดไว้
[70.25] สำหรับผู้ที่เอ่ยขอและผู้ที่ไม่เอ่ยขอ
[70.26] และบรรดาผู้ที่เชื่อมั่นต่อวันแห่งการตอบแทน (วันกิยามะฮฺ)
[70.27] และบรรดาผู้ที่มีความหวาดหวั่นต่อการลงโทษแห่งพระเจ้าของพวกเขา
[70.28] แท้จริงการลงโทษแห่งพระเจ้าของพวกเขาไม่เป็นที่ปลอดภัย
[70.29] และบรรดาผู้ที่ระวังรักษาทวารของพวกเขา
[70.30] นอกจากแก่คู่ครองของพวกเขา หรือที่มือขวาของพวกเขาครอบครองในลักษณะเช่นนั้นพวกเขาจะไม่เป็นผู้ที่ถูกตำหนิ
[70.31] ดังนั้นผู้ใดล่วงละเมิดนอกเหนือไปจากนั้น ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ละเมิด
[70.32] และบรรดาผู้ที่ระวังรักษาสิ่งที่ได้รับมอบหมาย (อะมานะฮ์) ของพวกเขาและคำมั่นสัญญาของพวกเขา
[70.33] และบรรดาผู้ที่ดำรงมั่นต่อการเป็นพยานของพวกเขา
[70.34] และบรรดาผู้ที่ดำรงรักษาในการละหมาดของพวกเขา
[70.35] ชนเหล่านั้นจะอยู่ในสวนสวรรค์อันหลากหลายเป็นผู้ได้รับเกียรติ
[70.36] มีอะไรเกิดขึ้นแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่วิ่งกระหืดกระหอบมายังเจ้า (มุฮัมมัด)
[70.37] พวกเขานั่งเป็นกลุ่ม ๆ ทางขวาหรือทางซ้ายของเจ้า
[70.38] แต่ละคนในหมู่พวกเขาต่างก็อยากจะเข้าไปอยู่ในสวนสวรรค์อันสุขสำราญกระนั้นหรือ
[70.39] ไม่เลยทีเดียว แท้จริงเราได้สร้างพวกเขาจากสิ่งที่พวกเขารู้กันดี
[70.40] ข้าขอสาบานต่อพระเจ้าแห่งบรรดาทิศตะวันออก และบรรดาทิศตะวันตกว่า แท้จริงเรา (อัลลอฮฺ) เป็นผู้เดชานุภาพอย่างแน่นอน
[70.41] ต่อการที่เราจะเปลี่ยนตัวแทนซึ่งดีกว่าพวกเขาและเราจะไม่เป็นผู้หมดความสามารถ
[70.42] ดังนั้น เจ้าจงปล่อยพวกเขาให้มั่วสุมและหลงระเริง จนกว่าพวกเขาจะได้พบกับวัน (กิยามะฮฺ) ของพวกเขา ซึ่งพวกเขาถูกสัญญาไว้
[70.43] วันที่พวกเขาจะออกมาจากหลุมฝังศพอย่างรีบเร่งคล้ายกับพวกเขาวิ่งกรูไปยังเจว็ดของพวกเขา
[70.44] สายตาของพวกเขาละห้อยเศร้าสลด ความอัปยศปกคลุมพวกเขา นั่นคือวันที่พวกเขาถูกสัญญาไว้
سورة المعارج
معلومات السورة
الكتب
الفتاوى
الأقوال
التفسيرات

سورة (المعارج) من السُّوَر المكية، نزلت بعد سورة (الحاقة)، وقد أكدت وقوعَ يوم القيامة بأهواله العظيمة، التي يتجلى فيها جلالُ الله وعظمته، وقُدْرتُه الكاملة على الجزاء، وأن مَن استحق النار فسيدخلها، ومَن أكرمه الله بجِنانه فسيفوز بذلك، وخُتمت ببيانِ جزاء مَن آمن، وتهديدٍ شديد للكفار؛ حتى يعُودُوا عن كفرهم.

ترتيبها المصحفي
70
نوعها
مكية
ألفاظها
217
ترتيب نزولها
79
العد المدني الأول
44
العد المدني الأخير
44
العد البصري
44
العد الكوفي
44
العد الشامي
43

* سورة (المعارج):

سُمِّيت سورة (المعارج) بهذا الاسم؛ لوقوع لفظ (المعارج) فيها؛ قال تعالى: {مِّنَ اْللَّهِ ذِي اْلْمَعَارِجِ} [المعارج: 3]، قال ابنُ جريرٍ: «وقوله: {ذِي اْلْمَعَارِجِ} يعني: ذا العُلُوِّ، والدرجاتِ، والفواضلِ، والنِّعمِ». " جامع البيان" للطبري (29 /44).

1. المقدمة (١-٥).

2. مُنكِرو البعث (٦-٢١).

3. المؤمنون بالبعث (٢٢-٣٥).

4. هل يتساوى الجزاءانِ؟ (٣٦-٤١).

5. تهديدٌ شديد (٤٢-٤٤).

ينظر: "التفسير الموضوعي لسور القرآن الكريم" لمجموعة من العلماء (8 /343).

يقول ابن عاشور عن مقصدها: «تهديدُ الكافرين بعذاب يوم القيامة، وإثباتُ ذلك اليوم، ووصفُ أهواله.
ووصفُ شيء من جلال الله فيه، وتهويلُ دار العذاب - وهي جهنَّمُ -، وذكرُ أسباب استحقاق عذابها.
ومقابلةُ ذلك بأعمال المؤمنين التي أوجبت لهم دارَ الكرامة، وهي أضدادُ صفات الكافرين.
وتثبيتُ النبيِّ صلى الله عليه وسلم، وتسليتُه على ما يَلْقاه من المشركين.
ووصفُ كثيرٍ من خصال المسلمين التي بثها الإسلامُ فيهم، وتحذير المشركين من استئصالهم وتبديلهم بخيرٍ منهم». "التحرير والتنوير" لابن عاشور (29 /153).